วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

November 24,2558




Lesson learned No.15 (บันทึกครั้งที่ 15)

1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)



ฟังเพื่อสรุปบทความหน้าชั้นเรียน


นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์  เลขที่ 4


เรื่อง   วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เรา

สามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทาง

วิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อน

มากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น

 เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่าง

รวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และ

ความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับ

เรื่องราวในจักรวาล 

เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหา


ความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสาร

เกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง 

เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทาง

วิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้





นางสาว ชนาภา  คะปัญญา  เลขที่3  

บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วม

ในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็ก

และส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทาง

วิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบ

ตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 

 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 

3 ประการดังนี้ 

1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 

2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 

3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 

เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ 

1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ

 การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ 


2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามที่กำหนดให้ 

3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ 

4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย 

5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 

6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง

สร้างสรรค์ 


บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 

1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นใน

โลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว

ของตนเองอย่างเหมาะสม 

2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ 

ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา

3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทาง

วิทยาศาสตร์









เพื่อนนำเสนองานวิจัย  ในชั้นเรียน


นางสาว  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์  เลขที่ 2


ชื่อวิจัย   การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย

โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 


วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ

จัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด

ประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้


สมมติฐาน 

       เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะ

กระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง



กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน 

ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที


วิธีดำเนินการวิจัย

1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง

2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.เก็บรวบรวมข้อมูล

4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ     
                                                                                                                 
 1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง เช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร เวลา

 2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัย


ผลการวิจัย


       จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการ

วิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการ

ทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะ

สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น



นางสาว  จงรักษ์  หลาวเหล็ก   เลขที่ 1

วิจัยเรื่อง         วิจัยเรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

        
ความมุ่งหมาย

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรม

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ขอบเขตของการวิจัย

    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 

ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน


ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์



เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.1 การจัดหมด 2.2 การหาความสัมพันธ์


จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้

1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้น

โดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมี

ความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น

 และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย 


2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาท

สัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน 

ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแก

สัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ










เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาว  กรกช  เดชประเสริฐ   เลขที่ 8

เรื่อง  พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์


เรื่องไข่เเละเรื่องน้ำมัน


-ให้เด็กสังเกตไข่  มีไข่ให้ 2 ใบ ถ้าโยนเเล้วไม่รับจะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อโยนเเล้วไม่รับปรากฎว่า ไข่ไม่เเตก   เพราะไข่ที่โยนเป็นไข่ต้ม


-น้ำมัน   เอาน้ำมันมาทาเปรียบเทียบใส่กระดาษ  ระหว่างน้ำมันพืชเเล้วน้ำมันหมู

ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง




2.skills (ทักษะ)

-ทักษะการตีความในการฟังบทความ จับประเด็นสำคัญๆ

-ทักษะการตั้งคำถาม หาคำตอบที่ยังไม่ชัดจน

-การแก้ไขปัญหา การตอบคำถามที่ครูถามได้อย่างชัดเจน






3.Apply(การประยุกต์ใช้)



-นำบทความหรืองานวิจัยที่เพื่อนนำเสนอนำไปเป็นแนวทางที่เราจะนำไปจัดกิจกรรมได้ในอนาคตที่เราเป็นครู

-สามารถนำสิ่งที่ได้ไปเป็นเนวทางที่เราจะจัดกิจกรรม






4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

-การใช้คำถาม เพื่อให้นักศึกษาได้คิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล

-การถามปรสบการณ์ดิมลนำมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่

-จัดกระบวนการเรียบเรียงหลักหรือประด็นที่สำคัญๆเพื่อใ้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น





5. assessment (ประเมิน)



ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา

มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม



เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา     

 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์



อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่      
ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน

ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา




วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

November 17,2558



Lesson learned No.14 (บันทึกครั้งที่ 14)

1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)

ทำกิจกรรม cooking

-ขนมโค หวานเย็น ข้าวจี่

-ขนมโค ขั้นตอนการทำ ตักแป้งใส่ถ้วย 3 ช้อนโต้ะ จากนั้นเทสีผสมอาหาร สีอะไรก็ได้จากนั้นคลุกเคล้า

ให้เข้ากันไม่ให้แป้งเละจนเกินไป เมื่อเสร็จขั้นนี้ก็ไปที่การป้นเเป้งนำไส้มาใส่โดยไส้ที่เตรียมไว้มีทั้งเค็ม

เเละหวาน เมื่อใส้ไส้เสร็จก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆ เเละนำไปสู่ขั้นตอนการทำให้สุกโดยใส่ลงไปในหม้อที่น้ำ

เดือดๆ เมื่อเวลาผ่านไปก้อนเเป้งก็จะลอยขึ้นมาเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าขนมสุกเเล้ว จากนั้นเราก็นำขนมมา

คลุกกับมะพร้าวรอให้ขนมหายร้อยก็สามารถทานได้เลย

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กำหนดปัญหาว่า เด็กคิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้กินขนมโค

สมมติฐาน เมื่อนำขนมที่ปั้นเป็นก้อนกลมๆเเล้วเอาลงไปในน้ำเดือดๆเด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ

จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตเเละลงมือปฎิบัติ

ขนมโคเหมาะสำหรับการทำเป็นฐาน















-หวานเย็น ขั้นตอนการทำ มีถ้วยใหญ่กับถ้วยเล็ก ตักน้ำเเข็งใส่ถ้วยใหญ่พอสมควรจากนั้นถ้วยเล็กก็ใส่น้ำ

หวาน เเละเติมเกลือลงไป เขย่าไปกันคนละทางบนถ้วยน้ำเเข็ง เมื่อเวลาผ่านไปน้ำหวานที่เหลวๆก็จะ

ค่อยๆเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำเเข็งเเละจับตัวกันเป็นเหมือนน้ำเเข็งไสสีสันน่าทาน

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กำหนดปัญหา เด็กทำยังไงถึงจะเป็นหวานเย็นได้คะ

สมมติฐาน ถ้าครูเขย่าน้ำหวานไปมาบนน้ำเเข็งเด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ

จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตเเละลงมือปฎิบัติ

หวานเย็นเหมาะสำหรับการทำเป็นกลุ่ม
















-ข้าวจี่ ขั้นตอนการทำข้าวจี่ นำข้าวเหนี่ยวมาใส่ไส้จากนั้นก็ปั้นให้เป็นก้อนกลมๆเเล้วใช้ไม้ตะเกียบเสียบ

เข้าไปตรงกลาง จากนั้นนำไปย่างบนเตาเมื่อสีข้าวเริ่มเปลี่ยน ก็นำไปชุปกับไข่เเล้วนำมาย่างอีกทีเพื่อให้

ไข่สุก ก็จะได้ข้าวจี่ที่มีกลิ่นหอมสีสันน่าทาน

กระบวนการทางวิทยาศาตร์

กำหนดปัญหา เด็กคิดว่าทำยังไงให้ไข่สุกเเละทานได้

สมมติฐาน ถ้าครูเอาข้าวเหนียวไปย่างบนเตาจะเกิดอะไรขึ้นคะ

จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตเเละลงมือทำ

ข้าวจี่เหมาะสำหรับการทำเป็นฐาน


























 2.skills (ทักษะ)


ทักษะที่ได้รับการสังเกต เด็กได้สังเกตว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง สังเกตการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับสีของข้าว



จี่ การเปลี่ยนเเปลงของหวานเย็น การเปลี่ยนแปลงของขนมโค


การจำเเนก เปรียบเทียบ  เช่นขนมโคต้องปั้นขนาดเท่าไหร่ ปั้นเป็นรูปทรงอย่างไรถึงจะสุกเร็ว

การวัด เด็กได้รู้จักการตวงส่วนผสมควรใช้สัดส่วนเท่าไหร่



การสื่อความ การใช้กราฟิกต่างๆนำเสนอว่าเด็กชอบกินขนมโคสีเเบบไหนมากกว่ากัน 



หรือชอบกินไส้ไหนมากกว่า


การลงความเห็น  เด็กชอบสีหวานเย็นสีไหนมากที่สุด  ชอบกินขนมโคไส้ไหนมากที่สุด 



ชอบกินข้าวจี่เเบบใส่ไส้หรือไม่ใส่ไส้มากกว่ากัน



มิติสัมพันธ์ คำนวนเวลาว่าควรใช้เวลาเท่าไหร่ข้าวจี่เเละขนมโคถึงจะสุกเเล้วน่าทาน 

เเละเขย่าน้ำหวานนานเเค่ไหนถึงจะเป็นหวานเย็น



การคำนวน คำเวลาว่าควรจะกลับด้านจ้าวจี่เวลาไหน ปิ้งเเต่ละข้างนานเท่าไหร่







3.Apply(การประยุกต์ใช้)



-นำวิธีการทำcooking เรื่องข้าวจี่ ขนมโค หวานเย็นไปสอนเด็กได้ สามารถบอกเด็กได้ว่าเราควรเริ่มจาก


ขั้นไหนก่อนเเละต่อๆไปเป็นอะไร ให้เด็กได้รู้จักวิธีการทำเป็นฐานๆ

-สอนเด็กได้ว่าทำไมข้าวจี่เเละขนมโคถึงสุกได้เเละสามารถให้เด็กนำกลับไปทำที่บ้านได้เเต่อยู่ในการ

ดูแลของผู้ปกครอง




4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

-เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง เช่น การตักส่วนผสม ทั้งข้าว ไข่ น้ำหวาน เป็นต้น

-เด็กเเก้ปัญหาด้วยตนเอง ว่าควรจะมีวิธีการอย่างไรให้ได้ข้าวจี่ ขนมโค หวานเย็น ที่สวยงาม

-ฝึกได้เด็กรู้จักการสังเกตจากเพื่อนว่าเพื่อนทำอย่างไรเเละนำมาปรับปรุงของตนเอง





5. assessment (ประเมิน)



ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา

มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม




เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา     

 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์



อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่      
ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน




ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา