วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปเรื่อง พืช (คู่กับ นางสาว ประภัสสร คำบอนพิทักษ์)



พืช

สำหรับบทนี้เราจะสำรวจความคิดรวบยอด ดังต่อไปนี้

-พืชมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีรูปทรงเฉพาะตัว

-พืชส่วนใหญ่สร้างเมล็ดเพื่อเติบโตเป็นพืชต้นใหม่

-เมล็ดเติบโตเป็นพืชที่มีราก ลำต้น ใบเเละดอก

-พืชส่วนใหญ่ต้องการน้ำ แสงสว่าง แร่ธาตุ ความอบอุ่น เเละอากาศ

-พืชบางชนิดเติบโตจากราก

-สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่คล้ายพืชไม่มีเมล็ดหรือราก

-อาหารหลายชนิดที่เรากินคือเมล็ดพืช




ความคิดรวบยอด พืชมีหลายชนิดเเต่ละชนิดมีรูปทรงเฉพาะตัว


1.ส่วนต่างๆของพืชที่ต่างชนิดกันมีรูปร่างอย่างไร

เป็นการให้นักเรียนได้รู้จักสังเกตเเละบอกลักษณความเหมือนเเละความแตกต่างของใบ เปลือกของ

ลำต้น เเละดอกไม้ที่ได้จากพืชต่างชนิดกัน

กิจกรรม นี้จะเเบ่งเป็นกลุ่มๆโดยให้เด็กหยิบสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ดอกไม้ เป็นต้น

จากนั้นก็นำมาเเยกๆเเละเเบ่งใส่ถุงตามจำนวนกลุ่ม โดยครูจะมีไว้กับตัว1ถุง เมื่อครูหยิบสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้น

มา ให้ถามนักเรียนว่าในถุงของนักเรียนมีเบบเดียวกับครูรึเปล่าลักษณะเหมือนกันมั้ย เป็นต้น






2.พืชบางชนิดพักผ่อนในฤดูหนาวอย่างไร


เป็นการเรียนเเบบให้นักเรียนได้รู้จักสังเกตเเละบอกความเปลี่ยนแปลงของต้นไมเเละพุ่มไม้ตามฤดูกาล

กิจกรรมครูจะต้องนำใบไม้มาสตาร์ฟไว้ก่อนหน้านี้เเละเเปะไว้ในกระดาน และติดชื่อของใบไม้ไว้ข้างล่าง

พานักเรียนออกนอกห้องเพื่อชมธรรมชาติ เเละให้นักเรียนสังเกตใบไม้ที่มีทั้งสีเขียวเเละสีน้ำตาล จากนั้น

ให้นักเรียนเก็บมาคนละ 1 ใบ แล้วนำกลับเข้ามาในห้องเรียนด้วย จากนั้นให้นักเรียนแยกตามชนิดเเละ

ลักษณะของใบไม้ และอธิบายสีที่เปลี่ยนให้นักเรียนฟัง





ความคิดรวบยอด พืชส่วนใหญ๋เมล็ดเพื่อเป็นพืชต้นใหม่

1.เรารู้อะไรเกี่ยวกับมล็ดพืชบ้าง

เป็นการเรียนรู้เพื่อให้ทราบว่าพืชส่วนใหญ่สร้างเมล็ดที่จะเมล็ดที่จะโตเป็นพืชต้นใหม่ซึ่งเป็นพันธ์เดียว

กับต้นเก่า

กิจกรรมให้นักเรียนดูฝักดูฝักที่มีเมล็ด แกะฝักออกดู ให้นักเรียนใช้เวลาอย่างเต็มที่ช่วยกันคิดดูว่าผล

ไม้เเต่ละชนิดมีเมล็ดอยู่ข้างในหรือไม่ เก็บเมล็ดแตงเเละฟักไว้ จากนั้นค่อยให้นักเรียนล้างเเละเอาออก

ผึ่งแดดในถาดจนแห้ง เอาเก็บไว้สำหรับถาดอาหารนก ถ้ามีข้าวโพดที่ยังสด ดึงเปลือกออกไปมัดไว้ด้าน

บนเเล้วเเขวนทั้งฝักให้แห้ง เมื่อแห้งเเล้วให้นักเรียนแกะเมล็ดออกเก็บไว้ให้นกเเละเอาไว้ทำกิจกรรมการ

งอกของพืช


2.เมล็ดกระจายไปได้อย่างไร

การเรียนรู้ในเรื่องนี้เพื่อดูว่าเมล็ดของพืชชนิดต่างๆเกิดขึ้นเเละกระจายไปได้อย่างไร

กิจกรรม นำเมล็ดจากพืชสวนหลายๆชนิดเท่าที่หาได้ในท้องถิ่น

นำมาจัดวางใส่ถาด ให้นักเรียนเขย่าเมล็ดให้หลุดออกจากฝัก ใช้เเว่นขยายส่องดูเมล็ดพืชที่มีเปลือกเป็น

ตุ่มหนามเเละที่มีขน เพื่อให้เห็นตะขอล็กๆตรงปลายหนาม เอาเมล็ดพืชที่มีปีก กับเมล็ดเปลือกเเข็งให้

นักเรียนลองโยนจากที่สูงเเละเปรียบเทียบกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับเมล็ดทั้ง 2 ชนิด




ความคิดรวบยอด เมล็ดเติบโตเป็นพืชที่มีราก ลำต้น ใบเเละดอก

1.ข้างในเมล็ดมีอะไร

เพื่อสังเกตเเละดูส่วนต่างๆของเมล็ด

กิจกรรม ให้นกเรียนช่วยกันแกะเมล็ดออกดูต้นอ่อน และส่องดูด้วยเเว่นขยายให้เห็นชัดๆ

สังเกตดูเมล็ดเเต่ละซีกนั้น ถ้าเป็นเมล็ดจากผลแก่จดอาจเผยออกเอง เเละมีปลายรากโผล่ออกมาให้เห็น

ในกรณีนีก็ไม่ต้องลอกเปลือกออก



2.เมล็ดเริ่มงอกได้อย่างไร


เพื่อสังเกตการเริ่มงอกของเมล็ด

กิจกรรม สร้างโดมที่จะให้เมล็ดงอก ใช้สำลีหรือทรายกรุตรงก้นเเก้วนำเมล็ดถั่วใส่ลงไป จากนั้นนำแก้ว

อีกใบมามาครอบทับ ใช้เทปใส่เเปะรอบขอบแก้ว วางไว้อย่าให้โดนแดด นำเมล็ดถั่วอย่างละเมล็ดใส่ไว้

ในหลอดใ่ยาฉีดไว้เปรียบเทียบภายหลัง จากนั้นเริ่มจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงต้งเต่วนแรกที่ปลูก

3.รากเเละลำต้นเจริญเติบโตได้อย่างไร

การเรียนรู้นี้เพื่อให้สังเกตว่ารากมีเเนวโน้มจงอกลงข้างล่างไปหาน้ำ ส่วนลำต้นมีเเนวโน้มจะงอกขึ้นข้าง

บนไปหาเเสงสว่าง

กิจกรรม สังเกตการงอกของรากเเละลำต้นว่าไปทิศทางใด เเละเป็นเช่นเดียวกันนี้ทุกเมล็ดหรือไม่

ค่อยๆพลิกเมล็ดที่กำลังงอกคว่ำลง ทำให้ลำตนชี้ลง ส่วนรากชี้ขึ้น ทำเครื่องหมาย Xไว้ข้างต้นก้นแก้ว

ตรววจความเปลี่ยนแปลงจากการเจริญเติบโต




ความคิดครวบยอด พืชส่วนใหญ่ต้องการน้ำ แสงสว่าง แร่ธาตุ ความอบอุ่น เเละอากาศ

1.พืชต้องการอะไรในการงอก

เพื่อให้ทราบเละจัดหาสิ่งที่ช่วยการงอกของเมล็ดเละการเจริญเติบโตของพืช

กิจกรรม เอาดินใส่ในเปลือกไข่หรือกระถางจนเกือบเต็ม ฝังปลือกไข่ลงไป ฉีดน้ำให้ดินชุ่ม วางเมล็ดพืช

หนึ่งเมล็ดลงบนดิน ปิดถาดด้วยฝาพลาสติกเเละพันรอบด้วยเทปกาวพอเห็นรากงอกให้เอาฝาออก

 เริ่มมจดบันทึกขั้นตอนของการงอกเป็นประจำทุกวัน



2.พืชนำน้ำไปใช้ได้อย่างไร

ให้สังเกตว่าพืชดูดความชื้นผ่านลำต้นได้อย่างไร

กิจกรรม ให้นักเรียนคอยสังเกตดูว่าน้ำซึมเข้าอย่างไร ประมาณ 1 ชั่วโมงตรวจดูรอยจางๆ ของสีปลายใบ

เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนดูการเปลี่ยนแปลงของการดูดซึมน้ำของใบไม้ลำต้นเเละส่วนต่างๆ





ความคิดรวบยอด  พืชบางชนิดงอกจากราก


1.เราจะทราบอะไรจากการปลูกมันฝรั่งบ้าง



สังเกตการขยายพันธ์ุพืชจากราก

กิจกรรมหาคำตอบ ถามนักเรียนว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่พืชจะงอกจากส่วนอื่นนอกจากเมล็ดฟังความคิด

เห็นจากนักเรียนและช่วยจัดให้มีการทดลองสภาพการงอกในแบบต่างๆให้นักเรียนเขียนบันทึกการงอก

ของพืชทุกวัน หรือวาดภาพตามที่สังเกตเห็น



ความคิดรวบยอด สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่คล้ายพืชไม่มีเมล็ดหรือราก

ให้สังเกตการเจริญเติบโตเเละพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายพืช

กิจกรรม นำขนมปัง 1 แผ่น ลงไปในขวดปากกว้าง 2ใบ ใบละครึ่งแผ่น พรหมน้ำไว้ ปิดฝาหนึ่งขวดอีกขวด

หนึ่งเปิดไว้ ทิ้งไว้เเล้วก็นำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อดูว่าราจะขึ้นได้อย่างไรเเล้วขึ้นในที่ไหนมากกว่ากัน


ความคิดรวบยอด อาหารหลายชนิดที่เรากินคือเมล็ดพืช

1.เมล็ดพืชชนิดใดรับประทานได้ 

เพื่อให้นักเรียนประสบด้วยตนเองว่ามีเมล็ดพืชหลายชนิดที่เราใช้เป็นอาหาร

กิจกรรม ให้นักเรียนเห็นว่าเมล็ดธัญพืชกลายเป็นแป้งได้อย่างไร

การบด โดยใช้เครื่องบดไฟฟ้า บดข้าวสาลี

การอบ อบเมล็ดทานตะวันเเละเมล็ดฟักทอง

การหุง หุงข้าวตามวิธี

การคั่วข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดแตกออกมื่อโดนความร้อน



กิจกรรมบูรณาการ

กิจกรรมคณิตศาสตร์

        การบันทึกข้อมูล  ขณะออกไปเดินเก็บวัสดุในธรรมชาติ ให้นำถุงขนาดใหญ่ไปใส่สิ่งที่พบ จากนั้นนำ

มาคัดแยกชนิด จัดแบ่งเป็นกลุ่มและหัดนับจำนวน บันทึกผลไว้บนกระดาน ป้าย หรือบนแผนภูมิ

ประสบการณ์ ถ้าเป็นเด็กเล็กให้บันทึกเป็นตัวเลขและใช้วัสดุแสดงเป็นตัวอย่าง ถ้าเป็นเด็กที่เริ่มหัดอ่าน

แล้วให้บันทึกเป็นตัวเลขและเขียนเป็นคำ

เช่น เราพบใบไม้ 12 ใบ ผลโอ๊ค 10 ผล เปลือกไม้ 8 ชิ้น มอส 1 ชิ้น เป็นต้น


         ดนตรี

ร้องเพลงเด็กๆ ที่เกี่ยวกับพืชเหล่านี้ เช่น
1. ร้องเพลง " The Tree in the Woods "
2. ร้องเพลงจากหนังสือ The 2 Raffi Songbook : " In My Garden " ( อาจจะให้นักเรียนทำท่าทางตาม
เนื้อเพลง ) เป็นต้น


         เพลงไทย
1. เพลง "ส้มตำ"
2. เพลง "มาร์ชผัก"


         หนังสือ

เช่น
        BUNTING, EVE. (1994). Flower Garden. San Diego, CA : Harcourt Brace. ภาพวาดที่มีสีสันสวยงามทำให้นิทานของเด็กเรื่องการปลูกดอกไม้กระถางให้แม่

        JORDAN, HELENE. (1992). How a seed grows. New York : Harper Collins. บรรยายวิธีการปลูกถั่วที่ทำตามได้ง่ายมาก เหมาะสำหรับนักเรียนก่อนวัยเรียน


        บทกลอน
เช่น
        บทกลอนของ X. J. Kennedy ชื่อ "Art Class" ในหนังสือ I Thought I'd Take My Rat to School โดย Dorothy Kennedy (Ed). เล่าถึงการคาดเดาของเด็กคนหนึ่งในการวาดภาพต้นไม้



กิจกรรมศิลปะ

       การทำภาพจากเศษวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ดอกไม้อัดแห้ง เมล็ดพืชแบนๆและกิ่งไม้แห้ง ล้วนแต่

เป็นวัสดุที่นำมาติดเป็นภาพได้สวยงาม

       การฝนภาพ  เช่น การนำใบไม้ 1 ใบ ติดด้วยเทปกาวบนโต๊ะตรงหน้า นักเรียนทุกคนเอากระดาษ 1

แผ่นที่ไม่บางนักวางข้างบนใบไม้ ให้นักเรียนใช้ดินสอเทียนฝนบนกระดาษให้เกิดเป็นภาพลายเส้นของ

ใบไม้ส่วนที่นูนขึ้นมา เป็นต้น




กิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์

กรณีตัวอย่าง  เช่น ครูหมอบคุดคู้อยู่บนพื้นกับนักเรียน สมสติว่า เป็นเมล็ดืชที่ปลูกในฤดูใบไม้ผลิ จากนั้น

ครูและนักเรียนเคลื่อนไหวพร้อมกันตามนิทานที่ครูเป็นผู้เล่าจนจบ เป็นต้น


กิจกรรมสำรวจเงียบๆนอกห้องเรียน 

เช่น ครูพานักเรียนออกไปสำรวจบริเวณที่มีวัชพืชขึ้นเป็นหย่อมๆ ใกล้โรงเรียน จากนั้นให้รายงานว่าเห็น

อะไรบ้างในพื้นที่สำรวจนั้นและทำแผนภูมิสรุปการสังเกต




สร้างเสริมการเชื่อมโยงความคิดรวบยอด

การคงความคิดรวบยอดไว้ 

      การมีต้นไม้ใส่กระถางไว้เป็นแถวบนขอบหน้าต่างห้องเรียน เป็นเครื่องประกันว่านักเรียนจะต้องดูแล

เอาใจใส่พืชให้งอกงามตลอดทั้งปี กิจกรรมการดูแลพืชจะอยู่บนแผนภูมิงานประจำวันของนักเรียนใน

ตำแหน่งที่เด่นเห็นได้ชัด

การเชื่อมโยงความคิดรวบยอด

     ความสัมพันธ์กับการทำดิน  การทำดินให้อุดมสมบูรณ์เป็นการแสดงให้เห็นถึงวงจรธรรมชาติในการ

ปรับสภาพวัสดุที่มีจำนวนจำกัดของระบบนิเวศได้อย่างชัดเจน


     พืชช่วยย่อยให้หินมีขนาดเล็กลง ตะไคร่น้ำ คือ พืชจำพวกเห็ด รา และ สาหร่าย ที่ขึ้นรวมกันอยู่เป็นก

ระจุก พวกนี้จะสร้างกรดที่ค่อยๆย่อยสลายผิวหน้าของก้อนหินได้

      อากาศ  ลม ช่วยพัดให้เมล็ดดอกหญ้าที่มีขนจำพวกแนดีไลออน และมิลค์วีค ปลิวไปได้ไกลโดยมีขน

ทำหน้าที่เหมือนร่มชูชีพ ลมช่วยพาเมล็ดที่มีปีกจากต้นมเปิลและต้รแอชหมุนคว้างลงมาจากต้นแม่ เพื่อ

ไปงอกเป็นต้นใหม่ในที่ไกลออกไป

      วัฏจักรของน้ำ / อากาศ  เวลารน้ำต้นไม้ให้ใช้คำว่า การระเหย  น้ำบางส่วนจะถูกรากของพืชดูดซึมขึ้น

ไป ส่วนที่เหลือจะระหยไป

การสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน

        ครูอาจให้นักเรียนไปเล่าความคืบหน้าของกิจกรรมการเพาะเมล็ดของนักเรียนให้ผูปกครองฟัง  

       ผู้ปกครองอาจช่วยเก็บสะสมเปลือกไข่ไว้ให้ถ้ามีการใช้เปลือกไข่ในโครงงานการเพาะเมล็ด คอยหา

ที่ปลูกที่เหมาะสม และคอยช่วยเหลือดูแลให้นักเรียนเอาใจใส่ดูแลพืชที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล




August 25, 2558





Lesson learned No.3   (บันทึกครั้งที่ 3)



1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)



-การปรับปรุงเรื่ององค์ประกอบในการทำบล็อกว่ามีความเหมาะสมอย่างไร เเละควรเพิ่มเติมส่วนไหน

เข้าไป

-เป็นเนื้อหาจากที่เราได้ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือของห้องสมุด เกี่ยวกับเรื่อง พืช


2.skills (ทักษะ)

-การเรียนรู้โดยการค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ

-การตกแต่งบล็อกเพื่อให้เกิดความสวยงามเเละสมบูรณ์

3.Apply (การประยุกต์ใช้)


-จากการได้รับความรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ใน

การสอนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กว่าเราควรจะให้ความสำคัญกับเด็ก

อย่างไร และควรพัฒนาสติปัญญาของเด็กด้านวิทยาศาสตร์อย่างไร


4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)


-การให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเอง ด้วยการอ่านเรื่องเเละสรุปเป็นความรู้ของตัวเราเอง

-การทบทวนบล็อกเปิดให้ดูทีละคนว่าขาดเหลือหรือควรเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนไหนเข้าไปในบล็อกบ้าง


5. assessment (ประเมิน)
-ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม 

-เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา         เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์

-อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่     ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน

-ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา      เเต่มีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้



วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

The study Tuesday, August 18, 2558.




Lesson learned No.2   (บันทึกครั้งที่ 2)


1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)


พัฒนาการทางด้านสติปัญญา โดยใช้พัฒนาการเป็นการเเบ่ง

เกณฑ์ หลักการที่จะใช้ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ต้องเป็นเรื่องที่เด็ก

สนใจ ใกล้ตัวเด็กวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยภาษาละคณิตศาสตร์ในการ

เรียนรู้สิ่งที่เด็กจะได้จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 

-มีเหตุผล

-รู้จักคิดเป็น

-ได้เรียนรู้ภาษา 

พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นความเจริญงอกงาม

ด้านความสามารถทางภาษา  การคิดของเเต่ละคนพัฒนาขึ้นมากับสิ่ง

เเวดล้อม เริ่มตั้งเเต่เรกเกิด ผลของการปฎิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จัก 

ตนเอง (self) เพราะตอนเเรกเด็กยังไม่สามารถแยกตนออกจาก

สิ่งเเวดล้อมได้การมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งเเวดล้อมเป็น

กระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาเเละตลอดชีวิตทั้งนี้เพื่อให้เกิด

ความสมดุล (eduilibruium)   การมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับ

สิ่งเเวดล้อมปรบปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความสมดุล

ระหว่างบุคคลกับสิ่งเเวดล้อมกระบวนการปฎิสมพันธ์ 

(iteaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ 

1.กระบวนการดูดซึม 

เมื่อมนุษย์มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งเวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึม

ประสบการณ์ใหม่ให้รวบเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา 

โดยจะเป็นการตีความหรือการรับข้อมูลจากสิ่งเเวดล้อม

2.กระบวนการปรับโครงสร้าง การปรับเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์

ปัญญาที่มีอยู่เเล้วให้เข้ากับสิ่งเเวดล้อมสรุปเเล้ว 

สติปัญญามาจากการปรับเเนวคิดเเลพฤติกรรมเข้าสู่สภาวะสมดุล

2.skills (ทักษะ)


 -การวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ต้องตอบอาจารย์

-การฝึกการระดมความคิด ช่วยกันคิดคำตอบ

-การบันทึกวามรู้ที่ได้รับ-การสรุปคำตอบที่ให้ได้ใจความสมบูรณ์


3.Apply(การประยุกต์ใช้)

จากการได้รับความรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ใน

การสอนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กว่าเราควรจะให้ความสำคัญกับเด็ก

อย่างไร และควรพัฒนาสติปัญญาของเด็กด้านวิทยาศาสตร์อย่างไร


4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

-บรรยยายโดยใช้เพาเวอร์พ้อยท์

-การยกกรณีตัวอย่าง การอธิบายขยายความของคำตอบ

-การใช้คำถามเพื่อที่จะโยงเข้าสู้เรื่องที่จะเรื่อง

-ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม


5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา

มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม 

เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา        
 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อ

ให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์

อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็ม

ที่      ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคน

มีส่วนร่วมในห้องเรียน

ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา   
   เเต่มีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้






Article summary (สรุปบทความ)



  บทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่






หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่”  เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้อง


กับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย





 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (สสวท.)  ได้ดำเนิน


โครงการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 


    อาจารย์ชุติมา  เตมียสถิต  หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอน


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้  กล่าวถึงที่มาของการจัดทำ


หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย  ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี 


พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่า 


 มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่


จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบเนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่


ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงเเนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู


   สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของ


ประเทศมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศ


          เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ โดยเชิญผู้รับผิดชอบในการ


จัดการศึกษาปฐมวัยทุกภาค ส่วน ร่วมประชุมพิจารณ์หลักสูตรกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์


ปฐมวัย ในปี พ.ศ. 2551 “การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น    ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับ


เนื้อหา  แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  ซึ่งประกอบไปด้วยการ


สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัย


ของเด็ก  เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามี


เครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล


 และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็น


พื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป”


 สสวท. ได้เชิญชวนให้โรงเรียนต่าง ๆ อาสาสมัครมาเป็นโรงเรียนทดลองใช้กรอบมาตรฐานหลักสูตร ฯ


  ได้โรงเรียนทั่วประเทศ 23 โรง  จากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน  และ


ทดลองใช้ในปี 2551


          ผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์


ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปใน


ทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัด


กิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่




   พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทาง ซึ่งได้กำหนดไว้

อย่างกว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้


ในว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้



และวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐาน


การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัย


ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550




แหล่งที่มา

ที่มา : นิตยสาร สสวท.
www.ipst.ac.th
สินีนาฎ  ทาบึงกาฬ/ รายงาน








        

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

The study Tuesday, August 11, 2558.


        

  Lesson learned  No. 1  (บันทึกครั้งที่ 1)


1. The knowledge gained  (ความรู้ที่ได้รับ)

-เเนวทางการปฏิบัติตามเเนวการสอน

-องค์ประกอบในการสร้างบล็อกดังนี้       ชื่อวิชา ชื่อนักศึกษา ปฎิทินเเละนาฬิกา เชื่อมโยงบล็อก

อาจารย์
,หน่วยงานสนับสนุน, แนวการสอน งานวิจัย, บทความ, สื่อ (เพลง,เกม, นิทาน, แบบฝึกหัด ,ของเล่น)
 
 -การชี้เเจงเนื้อหา เเนวทางการความต้องการของอาจารย์ผู้สอน

 



2. skills (ทักษะ)

-การคิดคำตอบ

-ระดมความคิดในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม



3.Apply(การประยุกต์ใช้)

-นำวิธีที่อาจารย์เเนะนำในการสร้างบล็อกไปใช้เพื่อปรับรูปแบบบล็อกให้มีเนื้อหาที่ครอบคลุม



4.
technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

-การใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาได้ช่วยกันตอบเป็นการเปิดประเด็นเรื่องที่จะเรียนก่อนการเข้าสู่เนื้อหา

5.assessment (ประเมิน)      


ตัวเอง     เข้าเรียนตรงเวลา       เเต่งกายเรียบร้อย 

เพื่อน     เข้าเรียนตรงเวลา    แต่งกายเรียบร้อย    มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

 อาจารย์ผู้สอน  เข้าสอนตรงเวลา  อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาได้ครบถ้วน 

 ห้องเรียน   มีอุปกรณ์ในห้องเรียนครบถ้วนเเละใช้งานได้ดี