บทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่” เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้อง
กับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ดำเนิน
โครงการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้ กล่าวถึงที่มาของการจัดทำ
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี
พ.ศ.2548 – 2549 พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่า
มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่
จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบเนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่
ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงเเนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู
สสวท. จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้ และได้ตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของ
ประเทศมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546 หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศ
เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ โดยเชิญผู้รับผิดชอบในการ
จัดการศึกษาปฐมวัยทุกภาค ส่วน ร่วมประชุมพิจารณ์หลักสูตรกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์
ปฐมวัย ในปี พ.ศ. 2551 “การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับ
เนื้อหา แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยการ
สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัย
ของเด็ก เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามี
เครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล
และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็น
พื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป”
สสวท. ได้เชิญชวนให้โรงเรียนต่าง ๆ อาสาสมัครมาเป็นโรงเรียนทดลองใช้กรอบมาตรฐานหลักสูตร ฯ
ได้โรงเรียนทั่วประเทศ 23 โรง จากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน และ
ทดลองใช้ในปี 2551
ผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปใน
ทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทาง ซึ่งได้กำหนดไว้
อย่างกว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้
ในว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
อย่างกว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้
ในว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
และวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐาน
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550
แหล่งที่มา
ที่มา : นิตยสาร สสวท.
www.ipst.ac.thสินีนาฎ ทาบึงกาฬ/ รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น