วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

September 22, 2558


Lesson learned No.7  (บันทึกครั้งที่ 7)


1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)



วิจัยของนางสาว รัตนาภรณ์ คงกะพันธ์

เกี่ยวกับเรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร 

ของ  ผู้วิจัย เสกสรร มาตวังแสง 

โดยลักษณะในการจัดกิจกรรมคือการให้เด็กได้ลงมือทำเอง 


ในการวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่ง

ทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง

1 สัปดาหกอนการทดลอง จากนั้นนทําการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณกอนการทดลอง

(Pre-test) โดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น กับกลุมตัวอยาง

และดําเนินการทดลองดวยตนเอง จํานวน 8 สัปดาหเมื่ออดําเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห

นําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลทที่ไดจาก

การทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางสถิต





วิจัยของนางสาว วราภรณ์ แทนคำ

เกี่ยวกับเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ของผู้วิจัย จุฑามาศ เรือนกำ 

เป็นการสร้างเเละการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยชุดกิจกรรมถูก

สร้างขึ้นมาอย่างมีระบบ โดยใชุชุดกิจกรรมทั้งหมด 20 ชุด การจัดกิจกรรมเเละเวลาที่ใช้ก็มีความเหมาะ

สมเเละสอดคล้องกับวัย




วิจัยของนางสาว ยุภา ธรรมโคตร

เกี่ยวกับเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ

เด็กปฐมวัย ของผู้วิจัย ยุพาภรณ์ ชูสาย

การเรียนรู้ครั้งนี้เกิดจากการนำผักเเละผลไม้มาเพื่อให้เด็กได้สังเกตุเเละเกิดการเรียนรู้

สิ่งที่เด็กจะได้รับคืออการสังเกต การจำแนก การหามิติสัมพันธ์เป็นต้น



นำเสนอสื่อ เกี่ยวกับเรื่อง เสียง




สื่อที่ใช้ คือ ไก่กระต๊าก

วิธีการเล่น

ใช้ฟองน้ำถูให้เกิดเป็นเสียงไก่ขันที่ดังคล้ายเสียงไก่ร้อง “กะต๊าก” 

โดยเสียงที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่ถูกขัดถู 

เรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องเสียง

หลักการทางวิทยาศาสตร์

เสียงที่เกิดขึ้นเป็นเสียงที่เกิดจากการเสียดสีของฟองน้ำกับเชือก ทำให้เกิดการสั่นสะเทอนของเส้นเชือก

และทำให้เกิดเสียงคล้ายเสียงไก่

ความหลากหลาย

อาจลองเป็นเชือกเปลี่ยนแก้วเป็นชนิดอื่นเพ่อให้เกิดเสียงไก่ในหลายๆรูปแบบ






2.skills (ทักษะ)

การใช้คำถามเพื่อที่เราจะได้เข้าใจในวิจัยที่เพื่อนำเสนอ

การใช้ความคิด คิดตามเพื่อให้เห็นภาพงานวิจัยที่เพื่อพูด

การนำเสนอสื่อด้วยคำพูดเเละวิผผผผผผผะีการที่จะสื่อออกมาให้พูดฟังได้เข้าใจ



3.Apply(การประยุกต์ใช้)

สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนๆนำมาเสนอไปใช้ในการสอนเด็ก

เกี่ยวกับทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ในอนาคตได้

สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่เราทำไปประยุกต์ใช้หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหน่วยต่างๆ

ทางวิทยาศาสตร์



4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบ

รู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้

การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์






5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม



เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา       
 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์



อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่      
ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน



ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา 

   เเต่มีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้




วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

September 15, 2558



Lesson learned No.6  (บันทึกครั้งที่ 6)

1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)

-เรื่องการทำงานของสมอง

-แนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์

-ฟังบทความจากเพื่อนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์




*การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

1.การเรียนรู้เเบบองค์รวมที่ครอลคลุมพัฒนาการทุกด้าน

2.เรียนรู้อย่างมีความสุข

3.การคิดเเละปฏิบัติจริง


*ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

-ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก

-พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

-เสริมสร้างประสบการณ์


*ประโยชน์ของการเรียนวิทยาศาสตร์

-พัฒนาความคิดรวบยอด

-พัฒนาทีกษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์




เรื่องการทำงานของสมอง




แนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์


































เจตคติทางวิทยาศาสตร์



บทความของนางสาว สุจิตรา มาวงษ์ 

เรื่องแนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล

เน้นการเรียนรู้เเบบองค์รวม แนวทางการปฎิบัติที่จะเรียนรู้

1.การตั้งคำถาม

2.ตอบคำถามด้วยตนเอง โดยครูจัดประสบการณ์ให้

3.สิ่งที่เด็กค้นพบมาเเล้วครูช่วยเสริมคำตอบให้สมบูรณ์

4.เล่าให้เพื่อนฟัง

5.นำไปเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์



บทความของนางสาว ประภัสสร สีหบุตร

ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สอดแทรกเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องใกล้ตัวเเละเด็กสนใจ 

เช่นนิทานเรื่อง เรียนรู้สัตว์น่ารัก เกี่ยวกับชนิด ลักษณะ เป็นต้น โดยอาจมีสิ่งของมาประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว 

วาดไปเล่าไป หรืออาจนำของจริงมาประกอบการเล่า

-ประโยชน์ที่ได้รับผ่านนิทาน

เข้าใจ รับรู้อย่างมีเหตุผล

ฉลาดมีไหวพริบ

สนุกสานเเละเพลิดเพลิน




2.skills (ทักษะ)
- การฝึกคิดจินตนาการสิ่งที่จะประดิษฐ์ว่า จะประดิษฐ์อะไรเพื่อให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์
-การเรียบเรียงคำตอบเพื่อให้ได้ใจความที่สมบูรณ์ของการทำงานของสมอง


3.Apply(การประยุกต์ใช้)

-การนำความรู้ที่ได้มาเป็นพื้นฐานในการคิดสิ่งประดิษฐ์

-การรู้จักนำเรื่องใกล้ตัวมาปรับให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์

-การคิดประดิษฐ์ของเล่นเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเข้าถึงได้ง่ายกว่า




4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

-การใช้คำถามเพื่อเป็นการเปิดประเด็นเรื่องที่จะเรียน

-ทบทวนความรู้ที่เคยเรียนมาเมื่อสัปดาห์ก่อนๆ

-การเชื่อมโยงโดยการนำประโยคคำตอบที่ได้มารวมกันเพื่อให้ได้ความหมายของการทำงานของสมองให้สม

บูรณ์ยิ่งขึ้น



5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม



เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา       
 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์



อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่      
ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน


ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา 
   เเต่มีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้





วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558



รถไฟฟ้า




ชื่อ พับกระดาษรถไฟฟ้า

 พับกระดาษให้เป็นลักษณ์คล้ายรถไฟ้เเล้ววาดภาพด้านข้างให้เป็นรูปหน้าต่าง 

 วิธีการเล่น  คือให้เด็กๆเป่าเเข่งขันกันว่าใครจะเป่าได้ไกลกว่า. 

แนวคิด การที่วัตถุจะเครื่องที่ไปข้างหน้าได้จะต้องให้เเรงขับ ซึ่งเเรงเเบ่งออกเป็น2ประเภท 

1.แรงธรรมชาติ เป็นธรรมชาติล้วนๆ เช่นแรงลม เเรงน้ำเป็นต้น 

2.แรงที่ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ คือแรงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่นเเรงดึง แรงผลัก เป็นต้น 

ในกิจกรรมที่ทำนี้เกิดจากเเรงที่ไม่ใช่เเรงธรรมชาติ เพราะการที่วัตถุๆนึงจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้

จะต้องใช้ลมจากปากในการเป่าเพื่อเป็นเเรงขับให้วัตถุเคลื่อนไปข้างหน้า

การประยุกต์ใช้

 ลมที่ออกมากจากปากเป่าเมื่อของกินของกินที่ร้อนๆ. เมื่ออยู่ในที่อากาศหนาวๆเราสามารถเป่าลมจาก

ปากใส่มือเพื่อให้เกิดความอบอุ่น




วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

September 10, 2558



สรุปวิจัย (Research Highlights)

 วิจัย  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

แบบโครงการของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านสันป่าสักอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

หมวดวิจัยในชั้นเรียน

ของ นางกชพรรณ บุญจา


วิจัย  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

แบบโครงการของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านสันป่าสักอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

หมวดวิจัยในชั้นเรียน

ของ นางกชพรรณ บุญจา


ที่มาและความสำคัญ

สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก

ความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ ทำให้วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญ

ก้าวหน้ามากขึ้น สร้างความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ ในขณะเดียวกันผู้ใช้บริการทางวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีควรมีความสามารถในการคิด รู้จักหาแนวทางในการแสวงหาความรู้ มีความรู้เท่าทัน

การเปลี่ยนแปลง รู้จักเลือกรับ ปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ให้เหมาะสมและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง

โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ซึ่งคุณลักษณะต่างๆที่กล่าวมาควรได้รับการปลูกฝัง

 ฝึกฝนตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่ยอมรับกันแล้วว่าเป็นวัยแห่งการวางรากฐานของพัฒนาการทุกด้าน



วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

แบบโครงการของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2/1 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอหางดง จ.เชียงใหม่



ขอบเขตการศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอหางดง จ.เชียงใหม่ เขต 4

ภาคเรียนที่ 2     ปีการศึกษา 2554 จำนวน 21 คน



















ระยะเวลาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 8 สัปดาห์

โดยโครงการที่ 1 มหัศจรรย์กะหล่ำปลีสีม่วง

เวลาที่ใช้ 15 ชั่วโมง

แบ่งเป็นระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ 5 ชั่วโมง

ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ 5 ชั่วโมง

ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ 5 ชั่วโมง



โครงการที่ 2 สนุกกับฟองสบู่ เวลาที่ใช้ 15 ชั่วโมง

แบ่งเป็นระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ 5 ชั่วโมง

ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ 5 ชั่วโมง

ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ 5 ชั่วโมง




ตัวแปรที่ศึกษา

ในการศึกษาได้กำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตามดังนี้

1.ตัวแปรต้น คือ การจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการ

2.ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา


1.เป็นแนวทางสำหรับครูที่จะจัดทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เต็มตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน

มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

(ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการแสดงปริมาณ ทักษะการสื่อความหมาย

 ทักษะการพยากรณ์)ของเด็กวัยอนุบาล

2.เพื่อให้ครูผู้สอนในระดับปฐมวัยได้นำผลจากการศึกษาครั้งนี้ไปเป็นแนวทางเพื่อปรับปรุงคุณภาพ

การเรียนการสอนพัฒนาเด็กในด้านอื่นๆต่อไป

3.เป็นแนวทางในการศึกษาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ

โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ


สรุปผลการศึกษา

จากการวิเคาระห์ข้อมูลที่ได้รับจากการทดสอบหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการพบว่า

เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้ารทักษะการสังเกต การจำแนก การแสดงปริมาณ สื่อ

ความหมาย การพยากรณ์ สูงกว่าเกณฑ์การประเมินที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อวิเคราะห์รายด้าน

พบว่ามีผลการประเมินระดับดีมากขึ้นไปทุกด้านและโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 92.28








วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

September 9, 2558




โทรทัศน์ครู เรื่อง คิดวิทย์ :ทรายวิทยาศาสตร์


ดำเนินรายการโดย พี่ต๊อบ ณัฐพล ชวลิตมณเฑียร และน้องไทร์ ทัสชา ปิณฑวิรุจน์

















เป็นการทดลองเกี่ยวกับเรื่องทรายทั้ง 2 เรื่อง

โดยทางรายการมีเด็กทั้งหมด 9 คน พิธีกร 1 คน เป็นการเรียนรู้เรื่องทราย ซึ่งอันดับแรกคือให้เด็กเล่น

ทรายโดยมีถาดใส่ทรายวางไว้ มีแม่พิมพ์ต่างๆ บรรจุทรายเข้าไป และก็ปล่อยออกก็จะได้ป็นรูปร่าง

จากนั้นก็จะถามเด็กๆว่าเด็กๆสังเกตลักษณะพิเศษของทราย เด็กที่ตอบก็ตอบว่า มีเนื้อละเอียด ผิวหยาบ

และถามต่อว่าทรายเกิดมาจากอะไรน้องๆตอบว่า เกิดจากเศษปะการัง หิน ดิน พี่ต๊อบจึงให้คำตอบกับ

เด็กๆว่า ทรายเกิดมาจากเปลือกหอย หิน ซากปะการังที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะและทับถมมาเป็นเวลานาน

     การทดลองในครั้งที่ 1 คือทำทรายธรรมดา ให้เป็นทรายวิทยาศาสตร์ นำเอาทรายมาอัดกับรูปทรง

ต่างๆ แต่เมื่ออัดทรายออกมา ได้รูปที่ไม่เหมือนกัน เพราะทรายอีกหนึ่งถังได้ผสมแป้งข้าวโพดลงไป

จึงได้รูปทรงที่สวยและดูแน่น พี่ต๊อบจึงสอนเด็กทำทรายที่ผสมแป้งข้าวโพด โดยนำเอาทรายมาผสมกับ

แป้งข้าวโพดและเติมน้ำเปล่าลงเล็กน้อย หลักการที่ได้ทรายรูปทรงเกิดจาก คุณสมบัติของแป้งข้าวโพด

 แป้งข้าวโพดมีคุณสมบัติเป็นสารแขวนลอย โมเลกุลของมันจะมีความแน่ขึ้นเมื่อเรานำมาบีบอัดและ

จะคลายตัวเมื่ออยู่ในสภาวะปกติ การอธิบายคือเมื่อเราผสมแป้งข้าวโพดลงไปในทรายละเอียด

 แป้งข้าวโพดจะทำหน้าที่เชื่อมเม็ดทรายเข้าไว้ด้วยกัน เมื่อเราออกแรงอัดเม็ดทรายลงในดิน

แป้งข้าวโพดจะหดตัวเข้าหากันทำให้ทรายที่ไก้ออกมามีเนื้อแน่นและสวยกว่าจากการอัดรูป

ในทรายปกติ





การทดลองที่ 2 อุปกรณ์ สีตกแต่งตูปลา สเปรย์เคลือบเงาและถาดรอง วิธีการใช้สเปรย์เคลือบเงา

เคลือบทรายสีจากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง  ก่อนจะทำการทดลองได้ตั้งคำถามกับเด็กๆก่อนว่าทราย

น่าจะลอยหรือว่าจะจม  ผลปรากฏว่าทรายไหลลงไปเป็นเส้นๆและเมื่อเราตักขึ้นมาและร่อนออกเบาๆใน

ฝ่ามือจะพบว่าทรายไม่เปียกน้ำที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าสเปรย์เคลือบเงา ไปเคลือบทรายที่มีละเอียด

ทำให้ทรายไม่ดูดซับน้ำเหมือนทรายปกติ



อ้างอิงจาก :https://youtu.be/Ld9zPSpLzNA




วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

September 8, 2558



Lesson learned No.5   (บันทึกครั้งที่ 5)



1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)

-การนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่ได้จากการพับกระดาษเพียงหนึ่งเเผ่น 

-เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องของวิทยาศาสตร์ 


ยกตัวอย่างเช่น นก รถไฟฟ้า ร่มชูชีพ








2.skills (ทักษะ)
- การฝึกคิดจินตนาการสิ่งที่จะประดิษฐ์ว่า จะประดิษฐ์อะไรเพื่อให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์



3.Apply(การประยุกต์ใช้)

-สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำไปปรับใช้กับการสอนเด็กในเรื่องของวิทยาศาสตร์ในอนาคต

-การนำสิ่งของใกล้ตัวมาประดิษฐ์เเละสอนเข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ได้




4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

-การใช้คำถามเพื่อเป็นการเปิดประเด็นเรื่องที่จะเรียน

-ทบทวนความรู้ที่เคยเรียนมาเมื่อสัปดาห์ก่อนๆ

-ให้อิสระในการคิดสิ่งประดิษฐ์เเละอธิบายสิ่งที่ทำว่าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 


5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา

มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา      
 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อ

ให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์

อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็ม

ที่      ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคน

มีส่วนร่วมในห้องเรียน

ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา
   เเต่มีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้


วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

September 1, 2558



Lesson learned No.4   (บันทึกครั้งที่ 4)


1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ต้องก้าวข้าม สาระวิชา ไปสู่การเรียนรู้

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบ

การเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช เเละอำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้เเบบ PBLของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่

เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้ คือชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เกิดจากการรวมตัวของครูเพื่อ

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำหน้าที่ของครูเเต่ละคนนั่นเอง


Learning pyramid



2.skills (ทักษะ)

-ได้นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการเรียนแบบใหม่

-ได้ทักษะการเรียนรู้ได้ให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


3.apply (การประยุกต์ใช้)


-การนำความรู้จากวิทยากรไปปรับใช้ ในการสอนเด็กๆในอนาคตที่เราจะได้เป็นคุณครู 

ว่าเราควรจัดสภาพห้องเรียนอย่างไร เเละสอนด้วยวิธีการใดได้บ้าง ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก