วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

September 10, 2558



สรุปวิจัย (Research Highlights)

 วิจัย  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

แบบโครงการของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านสันป่าสักอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

หมวดวิจัยในชั้นเรียน

ของ นางกชพรรณ บุญจา


วิจัย  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

แบบโครงการของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านสันป่าสักอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

หมวดวิจัยในชั้นเรียน

ของ นางกชพรรณ บุญจา


ที่มาและความสำคัญ

สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก

ความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ ทำให้วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญ

ก้าวหน้ามากขึ้น สร้างความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ ในขณะเดียวกันผู้ใช้บริการทางวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีควรมีความสามารถในการคิด รู้จักหาแนวทางในการแสวงหาความรู้ มีความรู้เท่าทัน

การเปลี่ยนแปลง รู้จักเลือกรับ ปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ให้เหมาะสมและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง

โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ซึ่งคุณลักษณะต่างๆที่กล่าวมาควรได้รับการปลูกฝัง

 ฝึกฝนตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่ยอมรับกันแล้วว่าเป็นวัยแห่งการวางรากฐานของพัฒนาการทุกด้าน



วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

แบบโครงการของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2/1 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอหางดง จ.เชียงใหม่



ขอบเขตการศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอหางดง จ.เชียงใหม่ เขต 4

ภาคเรียนที่ 2     ปีการศึกษา 2554 จำนวน 21 คน



















ระยะเวลาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 8 สัปดาห์

โดยโครงการที่ 1 มหัศจรรย์กะหล่ำปลีสีม่วง

เวลาที่ใช้ 15 ชั่วโมง

แบ่งเป็นระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ 5 ชั่วโมง

ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ 5 ชั่วโมง

ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ 5 ชั่วโมง



โครงการที่ 2 สนุกกับฟองสบู่ เวลาที่ใช้ 15 ชั่วโมง

แบ่งเป็นระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ 5 ชั่วโมง

ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ 5 ชั่วโมง

ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ 5 ชั่วโมง




ตัวแปรที่ศึกษา

ในการศึกษาได้กำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตามดังนี้

1.ตัวแปรต้น คือ การจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการ

2.ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา


1.เป็นแนวทางสำหรับครูที่จะจัดทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เต็มตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน

มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

(ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการแสดงปริมาณ ทักษะการสื่อความหมาย

 ทักษะการพยากรณ์)ของเด็กวัยอนุบาล

2.เพื่อให้ครูผู้สอนในระดับปฐมวัยได้นำผลจากการศึกษาครั้งนี้ไปเป็นแนวทางเพื่อปรับปรุงคุณภาพ

การเรียนการสอนพัฒนาเด็กในด้านอื่นๆต่อไป

3.เป็นแนวทางในการศึกษาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ

โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ


สรุปผลการศึกษา

จากการวิเคาระห์ข้อมูลที่ได้รับจากการทดสอบหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการพบว่า

เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้ารทักษะการสังเกต การจำแนก การแสดงปริมาณ สื่อ

ความหมาย การพยากรณ์ สูงกว่าเกณฑ์การประเมินที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อวิเคราะห์รายด้าน

พบว่ามีผลการประเมินระดับดีมากขึ้นไปทุกด้านและโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 92.28








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น