วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

october 27,2558



Lesson learned No.11  (บันทึกครั้งที่ 11)



1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)

ทำกิจกรรมเรื่อง น้ำ 

1.จับกลุ่มไม่เกิน 6 คน จากนั้นให้ทุกคนในกลุ่ม ตัดกระดาษออกมาให้เป็นกลีบดอกไม้ เเล้วตกแต่งระบายสี

จากนั้นให้พับกลีบเข้าหากัน เเล้วให้ทุกคนในกลุ่มวางลงในถาดที่มีน้ำพร้อมๆกัน โดยระหว่างทำกิจกรรมให้

สมาชิกในกลุ่มหนึ่งคน จดบันทึกเอาไว้ว่าเพื่อนในกลุ่มมีพฤติกรรมการทำอย่างไร

จากการสังเกตพบว่า เพื่อนที่ทำดอกไม้กลีบใหญ่เมื่อวางลงบนน้ำ จะบานก่อนกลีบดอกไม้ของเพื่อนคนอื่น






2.ทดลองปล่อยน้ำออกจากขวด โดยขวดจะมารูอยู่สามรู  รูบน รูกลาง เเละรูล่าง  ให้นักศึกษษตั้งสมมติฐานว่า

เปิดน้ำจากรูไหน น้ำถึงจะพุ่งไปได้ไกลที่สุด  จากการทดลอง พบว่าน้ำจารกรูกลางพุ่งได้ไกลที่สุด 

เพราะมีเเรงดันมาก




3.ทดลองเรื่องน้ำพุ ให้นักศึกษาสังเกตว่าถ้าสมมติเราเติมน้ำลงขวดที่มีสายยางหย่อนลงในขวดซึ่งสายยางอีก

ฝั่งได้ต่อเข้ากับฐานซึ่งทำเหมือนน้ำพุ เมื่อเติมน้ำลงไปปรากฎว่าน้ำค่อยๆไหลไปตามสายยางจากนั้นก็พ่งออก

มาเหมือนน้ำพุ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ยิ่งทำให้ฐานต่ำน้ำยิ่งพุ่งได้สงมากยิ่งขึ้น







ทำกิจกรรม ลูกยางกระดาษ 

4.ครูแจกอุปกรณ์ให้เป็นกระดาษ เเละคลิปหนีบกระดาษ พับกระดาษครึ่งนึง จากนั้นตัดตรงกลางกระดาษถึงรอย

พับครึ่ง พับออกไปทางซ้ายข้างนึงพับออกทางขวาข้างนึง จากนั้นพับกระดาษตรงก้นกระดาษขึ้นมาเเล้วใช้คลิป

หนีบอาไว้ ทดลองโดยการโยนขึ้นเเล้วให้กระดาษหล่นลงมา  กระดาษที่หล่นลงมาจะหมุนเป็นเกลียวเหมือนลูก

ยาง




5.ไหมพรมเต้นระบำ 

ครูแจกอุปกรณ์ หลอดเเละไหมพรม โดยร้อยไหมพรมเข้าไปในหลอด จากนั้นมัดปม เเล้วใช้ปากเป่าเพื่อให้ไหม

พรมเคลื่อนที่ ที่ไหมพรมเคลื่อนที่ เพราะเกิดจากการปล่าลมเข้าไปในหลอดทำให้เกิดเเรงขับไหมพรม







6.ทดลองเทียนไข

โดยครูเเนะนำอุปกรณ์ว่าข้างหน้ามีอะไรบ้าง ครูใช้คำถามว่าทำอะไรได้บ้าง

จากนั้นกำหนดปัญหาว่าถ้าจุดเทียนไขจกิดอะไรขึ้น

ครูจุดเทียนไขจากนั้นตั้งกบก้นชามเเล้วใช้เเก้วครอบปรากฎว่า ไฟในเทียนไขค่อยๆดับลง เพราะ ในอากาศมี 

ออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจน มีคุณสมบัติที่ ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไป เทียนไขจะสามารถ 

ส่องสว่าง ต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่ง จนเมื่อออกซิเจน ถูกเผาไหม้หมด เทียนไข ก็จะดับลงทันที

ทดลองครั้งที่สอง ครั้งนี้เติมน้ำลงเล้วค่อยเอาเเก้วครอบเเต่เทีนยไขก็ยังดับอยู่เช่นกัน







จากนั้นให้เเต่ละกลุ่ม เขียนเเผนการสอนในเรื่อง  การทดลองเเละcooking




2.skills (ทักษะ)

-ได้ฝึกทักษะการสังเกต

-การรู้จักเปรีบยเทียบหาข้อเเตกต่าง

-ฝึกการตั้งสมมติฐาน การคาดคะเนว่าจะเกิดอะไรขึ้นในเเต่ละการทดลองเรื่องต่างๆ

-การจัดกระบวนการสอนที่หลากหลายวิธี


3.Apply(การประยุกต์ใช้)

-การนำวิธีการสอนของครูมาเป็นเเบบอย่างในการจะนำไปสู่งการสอนเด็กในอนาคต

-การรู้จักเลือกวิธีการสอน การใช้สื่อที่หลากหลาย

-การนำสิ่งของมาประยุกต์ใช้โดยเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายแต่มีวิธีการคิดที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ที่เด็กเข้า

ใจเเละสนุกสนานได้


4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

-นำสื่อมาใช้ในการสอน มีความหลากหลาย ทำให้นักศึกษามีเเนวคิดในการทำสื่อต่อไป

-มีวิธีการสอนที่ใช้คำถามให้คิดเเละแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

-ให้สืบหาข้อมูลความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่เรียน


5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม


เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา     
 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์


อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่    
  ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน


ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา






วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

october 20,2558




Lesson learned No.10  (บันทึกครั้งที่ 10)


1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)

ฟังรายงานการวิจัยจากเพื่อน

1.นางสาว ปรางชมพู บุญชม  เลขที่ 10

เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ ศรีจักร

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่

สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็น

ว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่าง

หลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความ

คิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์


2.นางสาว ชนากานต์  เเสนสุข เลขที่ 12

การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านทักษะการสืบเสาะ 

ต้องอาศัยหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ มีการเเลกเปลี่ยน วิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ตัวเเปรต้น แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ตัวแปรตาม การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเด็ก โดยการเขียนแผนให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้น

-เล่นสนุกกับน้ำ เป็นการฝึกการสังเกต การลงความเห็น สเปซกับเวลา

เล่านิทานริมน้ำ จากนั้นให้เด็ฏมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับน้ำ

ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มๆ แจกขวดน้ำ แชมพู หรือขวดยาสระผม ให้เด็ก 

ขวดที่ไม่มีน้ำกับขวดที่มีน้ำมีลักษณะอย่างไร

ครูแนะนำให้เด็กยืนเเถวเรียงเเต่ละกลุ่ม ให้เด็กที่อยู่หัวเเถวบีบขวดที่มีน้ำให้ได้ระยะทางไกลที่สุด 

สลับกันทุกคน


3. เก็บตก ของ นางสาว รัตนาภรณ์  คงกะพันธ์ 

การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิดวิจารณญาณได้ โดยเด็๋กเป็นผู้ลงมือปฎิบัติการทดลอง

ด้วยตนเอง ลักษณะกิจกรรมเด็กจะได้สังเกตวัสดุ  อุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง

และสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ 

การใช้เหตุผลและการประเมินค่า ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการคิดวิจารณญาณ

 ครูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด  ขณะที่ทำกิจกรรม


การคิดวิจารณญาณ




จากนั้นคิดกิจกรรมการทำ cooking

กลุ่มดิฉันทำเรื่อง ขนมทาโกยากิ


วัถุดิบที่ใช้ทำแป้งทาโกะ 

1. แป้งเค้กสำเร็จรูปตราว่าว 1 ถ้วยตวง             2. ซอสทาคูมิยาอิ 2 ช้อนโต๊ะ 

3. ไข่ 3 ฟอง                                                      4. นมสดรสจืด 2 ช้อนโต๊ะ

5. น้ำตาล 1 ครึ่งช้อนโต๊ะ                                   6. เกลือ ปลายช้อนชา

7. ผงฟู ปลายช้อนชา



ส่วนประกอบวัถุดิบ

1. ปูอัด

2. แครอทหั่นเต๋า

3. กระหล่ำปีหั่นปอย 

4. ต้นหอมซอย

5. สาหร่ายเส้น 

6. มายองเนส 

7. ซอสราดทาโกะสำเร็จรูป 



วิธีทำแป้งทาโกะยากิ

1. เทแป้งลงชามผสม จากนั้นใส่ผงฟู และน้ำตาลทราย เกลือ ลงไป ตามด้วย ไข่ไก่ 3 ฟอง 

และน้ำเปล่าประมาณ 1 ถ้วยเล็กๆ ใส่นมจืด 2 ช้อนโต๊ะ

2. จากนั้นใช้ตระก้อตีแป้ง ตีผสมให้เข้ากัน จากนั้นใส่ซอสญี่ปุ่นลงไป2ช้อนโต๊ะ ตีให้เข้ากัน 

ก็จะได้แป้งที่สีเหลืองนวล

3. ตั้งกระทะให้ร้อนจากนั้นใช้น้ำมันทาให้ทั่วเพื่อจะให้ทาโกะ หยอดแป้งลงไปครึ่งหลุมแล้วจากนั้นก็

ใส่กระหล่ำปลี แครอท ต้นหอม ปูอัดลงไป พอสุกมันจะร่อนให้เอียงองศาเล็กน้อยแล้วหยอดแป้งให้เต็ม

หลุม ทำแบบนี้จนกว่าทาโกะจะออกมาเป็นลูกกลมๆ 

4. จากนั้นก็มาถึงขั้นตอน พักขึ้นใส่จาน ราดด้วยมายองเนส และก็ซอสทาโกะสำเร็จรูป 




คิดกระบวนการสอนในส่วนของการทดลอง จรวด 

สิ่งเเรกที่เราควรเริ่มคือ การใช้คำถามถามเด็กว่า เคยทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งที่เตรียมไว้ให้หรือไม่

จากนั้นก็เเจกอุปกรณ์ให้เด็กๆ เพื่อให้เด็กเกิดการเปรียบเทียบ เราอาจทำไว้สัก 2 - 3ชิ้น

ชิ้นเเรกอาจใส่ในประมาณที่สมบูรณ์ 

ชิ้นที่2 อาจใส่เเค่อย่างเดียว

ชิ้นที่สามอาจไม่ผสมเบรคกิ้งโซดา เป็นต้น

จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น




2.skills (ทักษะ)

การใช้คำถามถามข้อสงสัยในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

การฝึกคิดเชื่อมโยงจากเรื่องยานพาหนะสู่การทำคุกกิ้ง

การฝึกคิดเชื่อมโยงกิจกรรมเพื่อนำมาเขียนเป็นกระบวนการเพื่อให้เห็นภาพการสอนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

การเชื่อมโยงการทำ cooking สู่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์





3.Apply(การประยุกต์ใช้)

สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไป

สามารถนำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังวิจัยหลายๆเรื่องที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้

สิ่งที่คิดในคุกกิ้งมีประโยชน์ในอนาตคสำหรับการไปสอนเด็ก

เราสามารถนำเรื่องของการทำคุกกิ้งโยงเข้าสู่วิทยาศาสตร์ได้





4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบ

รู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้

การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์




5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม



เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา     
 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์



อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่      
ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน


ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา






วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

october 13,2558



Lesson learned No.9  (บันทึกครั้งที่ 9)


1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)


ฟังบทความจากเพื่อน

นางสาว สุทธิกานต์  กางพาพันธ์  เลขที่ 14

สสวท ได้จัดทำกิจกรรมให้เด็กโดยมีชื่อโครงการว่า โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร

มีกิจกรรมดังนี้

 กิจกรรม "หวานเย็นชื่อใจ"

     เด็กๆค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว  เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ้งมีอุณภูมิต่ำ

กว่า 0 องศาเซลเซียสทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณภูมิต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

  กิจกรรม "โมบายเริงลม"

     กิจกรรมจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆเกิดการเคลื่อนที่  ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็กๆทำโมบายที่สวยงามแล้ว

นำไปแควนที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ

     กิจกรรมทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเพื่อเริ่มต้นทำความ

เข้าใจเกี่ยวกับโลกที่เราอาศัยจากการทดลองง่ายๆตามศักยภาพของเด็กโดยกกระตุ้นการเรียนรู้จากการ

ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ

     ประโยชน์จากกิจกรรมเป็นการสร้างแรงบรรดาลใจให้เด็กๆได้เข้าใจโลกในมุมกว้างมากยิ่งขึ้น

เป็นพื้นฐานที่จะต่อยอดความรู้ในระดับที่สูงยิ่งๆขึ้น



นางสาว ศุทธินี   โนนริบูรณ์ เลขที่  15

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย  ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการ

สืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย และเป็นไปตาม

หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย เหมือนอย่าง ครูพัชรา อังกูรขจร ครูชำนาญการ รร.บ้านแม่ละเมา

ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นวิทยากรแกนนำของ สสวท.ในการขยายผลอบรมครูใน

ท้องถิ่น ได้นำแนวทางจาก สสวท.ไปจัดกิจกรรม

 “เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง”

จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ มีผู้ปกครองจากหลายสาขาอาชีพ และเจ้าหน้าที่รีสอร์ทมาร่วมเป็น

“พ่อครู แม่ครู” ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิด

เห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม และที่สำคัญ

คือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเอาไว้ให้ยั่งยืน



นางสาว เจนจิรา  เทียมนิล  เลขที่  13


บทความเรื่อง  การสอนลูกเรื่องเเม่เหล็ก


การสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุ

 ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น

ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวก

โลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติกการจัดกิจกรร

รมการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัย จะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทดลอง

 และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน ถึงแม้เด็กจะไม่สามารถเห็นแรงแม่เหล็กได้ด้วย

ตาตนเอง เพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เด็กจะรับรู้ได้จากผล

การกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็กเข้าไปหาแม่เหล็ก

 ดังนั้น เรื่องแรงแม่เหล็ก จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐม วัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็ก

ปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐมวัย ประกอบกับคนเรา

ได้ใช้แรงแม่เหล็กสร้างสรรค์เครื่องเล่นเครื่องใช้อย่างมากมาย จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่หลักสูตรการ

ศึกษาปฐมวัยได้กำหนดให้เด็กเรียนรู้ จากสาระการเรียนรู้เรื่องสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กและธรรมชาติรอบตัว



นำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซ็ค

โดยอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่เราได้ว่ามีกลไกอย่างไร

เเละสามารถสอนเด็กได้อย่างไรบ้าง

สิ่งที่ดิฉันได้เป็นของเล่นแกว่งเเล้วมีเสียง โดยเสียงที่ได้ยินนั้นเกิดจากเชือกเสียดสีกับยางสน

เชือกเกิดการสั่นสะเทือนจากนั้นก็ส่งผ่านตัวกลางคือเชือกจากนั้นก็ส่งไปยังก้นแก้ว

ด้วยขนาดของแก้วมีพื้นที่ที่จำกัด ทำให้เสียงไปไหนไม่ได้ จึงเกิดเสียงดังออกมา

การเล่นที่หลากหลาย  อาจเปลี่ยนเชือก  เปลี่ยนแก้ว เป็นต้น



จากนั้นนำเสนอ งานกลุ่มที่ได้เขียนมายเเมบเอาไว้

ของเล่นที่นำเสนอคือการทำจรวด จากกระดาษ

ของเล่นตามมุม เป็นการทำแผนที่เเละใช้เเม่เหล็กในการทำ

การทดลอง เป็นการทดลองจรวด โดยมีแบ็ดกิ้งโซดาเป็นตัวหลักเเละกล่องใส่ฟิล์มกล้อง





2.skills (ทักษะ)

การใช้คำถามถามข้อสงสัยในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

การฝึกคิดหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับของเล่นที่เราหยิบมา

การปรับให้ของเล่นในวิทยาศาสตร์มีความยืดหยุ่นเเละเหมาะกับการเล่นได้หลากหลายรูปแบบ



3.Apply(การประยุกต์ใช้)

สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไป

สามารถนำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังโทรทัศน์ครูจากที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้

สามารถนำเอาหลักของมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาเป็นเเนวทางในการทำของเล่น

การทดลอง เเละการจัดมุมประสบการณ์ได้





4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบ

รู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้

การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์






5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม


เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา    
 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์



อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่    
 ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน



ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา

   เเต่มีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้