Lesson learned No.10 (บันทึกครั้งที่ 10)
1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)
ฟังรายงานการวิจัยจากเพื่อน
1.นางสาว ปรางชมพู บุญชม เลขที่ 10
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ ศรีจักร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่
สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็น
ว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่าง
หลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความ
คิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์
2.นางสาว ชนากานต์ เเสนสุข เลขที่ 12
การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านทักษะการสืบเสาะ
ต้องอาศัยหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ มีการเเลกเปลี่ยน วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ตัวเเปรต้น แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ตัวแปรตาม การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเด็ก โดยการเขียนแผนให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้น
-เล่นสนุกกับน้ำ เป็นการฝึกการสังเกต การลงความเห็น สเปซกับเวลา
เล่านิทานริมน้ำ จากนั้นให้เด็ฏมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับน้ำ
ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มๆ แจกขวดน้ำ แชมพู หรือขวดยาสระผม ให้เด็ก
ขวดที่ไม่มีน้ำกับขวดที่มีน้ำมีลักษณะอย่างไร
ครูแนะนำให้เด็กยืนเเถวเรียงเเต่ละกลุ่ม ให้เด็กที่อยู่หัวเเถวบีบขวดที่มีน้ำให้ได้ระยะทางไกลที่สุด
สลับกันทุกคน
3. เก็บตก ของ นางสาว รัตนาภรณ์ คงกะพันธ์
การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิดวิจารณญาณได้ โดยเด็๋กเป็นผู้ลงมือปฎิบัติการทดลอง
ด้วยตนเอง ลักษณะกิจกรรมเด็กจะได้สังเกตวัสดุ อุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง
และสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์
การใช้เหตุผลและการประเมินค่า ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการคิดวิจารณญาณ
ครูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด ขณะที่ทำกิจกรรม
การคิดวิจารณญาณ
กลุ่มดิฉันทำเรื่อง ขนมทาโกยากิ
วัถุดิบที่ใช้ทำแป้งทาโกะ
1. แป้งเค้กสำเร็จรูปตราว่าว 1 ถ้วยตวง 2. ซอสทาคูมิยาอิ 2 ช้อนโต๊ะ
3. ไข่ 3 ฟอง 4. นมสดรสจืด 2 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำตาล 1 ครึ่งช้อนโต๊ะ 6. เกลือ ปลายช้อนชา
7. ผงฟู ปลายช้อนชา
ส่วนประกอบวัถุดิบ
1. ปูอัด
2. แครอทหั่นเต๋า
3. กระหล่ำปีหั่นปอย
4. ต้นหอมซอย
5. สาหร่ายเส้น
6. มายองเนส
7. ซอสราดทาโกะสำเร็จรูป
วิธีทำแป้งทาโกะยากิ
1. เทแป้งลงชามผสม จากนั้นใส่ผงฟู และน้ำตาลทราย เกลือ ลงไป ตามด้วย ไข่ไก่ 3 ฟอง
และน้ำเปล่าประมาณ 1 ถ้วยเล็กๆ ใส่นมจืด 2 ช้อนโต๊ะ
2. จากนั้นใช้ตระก้อตีแป้ง ตีผสมให้เข้ากัน จากนั้นใส่ซอสญี่ปุ่นลงไป2ช้อนโต๊ะ ตีให้เข้ากัน
ก็จะได้แป้งที่สีเหลืองนวล
3. ตั้งกระทะให้ร้อนจากนั้นใช้น้ำมันทาให้ทั่วเพื่อจะให้ทาโกะ หยอดแป้งลงไปครึ่งหลุมแล้วจากนั้นก็
ใส่กระหล่ำปลี แครอท ต้นหอม ปูอัดลงไป พอสุกมันจะร่อนให้เอียงองศาเล็กน้อยแล้วหยอดแป้งให้เต็ม
หลุม ทำแบบนี้จนกว่าทาโกะจะออกมาเป็นลูกกลมๆ
4. จากนั้นก็มาถึงขั้นตอน พักขึ้นใส่จาน ราดด้วยมายองเนส และก็ซอสทาโกะสำเร็จรูป
คิดกระบวนการสอนในส่วนของการทดลอง จรวด
สิ่งเเรกที่เราควรเริ่มคือ การใช้คำถามถามเด็กว่า เคยทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งที่เตรียมไว้ให้หรือไม่
จากนั้นก็เเจกอุปกรณ์ให้เด็กๆ เพื่อให้เด็กเกิดการเปรียบเทียบ เราอาจทำไว้สัก 2 - 3ชิ้น
ชิ้นเเรกอาจใส่ในประมาณที่สมบูรณ์
ชิ้นที่2 อาจใส่เเค่อย่างเดียว
ชิ้นที่สามอาจไม่ผสมเบรคกิ้งโซดา เป็นต้น
จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
2.skills (ทักษะ)
การใช้คำถามถามข้อสงสัยในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
การฝึกคิดเชื่อมโยงจากเรื่องยานพาหนะสู่การทำคุกกิ้ง
การฝึกคิดเชื่อมโยงกิจกรรมเพื่อนำมาเขียนเป็นกระบวนการเพื่อให้เห็นภาพการสอนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
การเชื่อมโยงการทำ cooking สู่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.Apply(การประยุกต์ใช้)
สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไป
สามารถนำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังวิจัยหลายๆเรื่องที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้
สิ่งที่คิดในคุกกิ้งมีประโยชน์ในอนาตคสำหรับการไปสอนเด็ก
เราสามารถนำเรื่องของการทำคุกกิ้งโยงเข้าสู่วิทยาศาสตร์ได้
4.technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบ
รู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้
การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์
5. assessment (ประเมิน)
ตัวเอง แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
เพื่อน แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์
อาจารย์ เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่
ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน
ห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา
4.technique (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)
ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบ
รู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้
การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์
5. assessment (ประเมิน)
ตัวเอง แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
เพื่อน แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์
อาจารย์ เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่
ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน
ห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น