วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

october 13,2558



Lesson learned No.9  (บันทึกครั้งที่ 9)


1.The knowledge gained ( ความรู้ที่ได้รับ)


ฟังบทความจากเพื่อน

นางสาว สุทธิกานต์  กางพาพันธ์  เลขที่ 14

สสวท ได้จัดทำกิจกรรมให้เด็กโดยมีชื่อโครงการว่า โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร

มีกิจกรรมดังนี้

 กิจกรรม "หวานเย็นชื่อใจ"

     เด็กๆค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว  เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ้งมีอุณภูมิต่ำ

กว่า 0 องศาเซลเซียสทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณภูมิต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

  กิจกรรม "โมบายเริงลม"

     กิจกรรมจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆเกิดการเคลื่อนที่  ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็กๆทำโมบายที่สวยงามแล้ว

นำไปแควนที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ

     กิจกรรมทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเพื่อเริ่มต้นทำความ

เข้าใจเกี่ยวกับโลกที่เราอาศัยจากการทดลองง่ายๆตามศักยภาพของเด็กโดยกกระตุ้นการเรียนรู้จากการ

ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ

     ประโยชน์จากกิจกรรมเป็นการสร้างแรงบรรดาลใจให้เด็กๆได้เข้าใจโลกในมุมกว้างมากยิ่งขึ้น

เป็นพื้นฐานที่จะต่อยอดความรู้ในระดับที่สูงยิ่งๆขึ้น



นางสาว ศุทธินี   โนนริบูรณ์ เลขที่  15

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย  ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการ

สืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย และเป็นไปตาม

หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย เหมือนอย่าง ครูพัชรา อังกูรขจร ครูชำนาญการ รร.บ้านแม่ละเมา

ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นวิทยากรแกนนำของ สสวท.ในการขยายผลอบรมครูใน

ท้องถิ่น ได้นำแนวทางจาก สสวท.ไปจัดกิจกรรม

 “เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง”

จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ มีผู้ปกครองจากหลายสาขาอาชีพ และเจ้าหน้าที่รีสอร์ทมาร่วมเป็น

“พ่อครู แม่ครู” ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิด

เห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม และที่สำคัญ

คือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเอาไว้ให้ยั่งยืน



นางสาว เจนจิรา  เทียมนิล  เลขที่  13


บทความเรื่อง  การสอนลูกเรื่องเเม่เหล็ก


การสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุ

 ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น

ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวก

โลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติกการจัดกิจกรร

รมการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัย จะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทดลอง

 และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน ถึงแม้เด็กจะไม่สามารถเห็นแรงแม่เหล็กได้ด้วย

ตาตนเอง เพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เด็กจะรับรู้ได้จากผล

การกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็กเข้าไปหาแม่เหล็ก

 ดังนั้น เรื่องแรงแม่เหล็ก จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐม วัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็ก

ปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐมวัย ประกอบกับคนเรา

ได้ใช้แรงแม่เหล็กสร้างสรรค์เครื่องเล่นเครื่องใช้อย่างมากมาย จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่หลักสูตรการ

ศึกษาปฐมวัยได้กำหนดให้เด็กเรียนรู้ จากสาระการเรียนรู้เรื่องสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กและธรรมชาติรอบตัว



นำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซ็ค

โดยอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่เราได้ว่ามีกลไกอย่างไร

เเละสามารถสอนเด็กได้อย่างไรบ้าง

สิ่งที่ดิฉันได้เป็นของเล่นแกว่งเเล้วมีเสียง โดยเสียงที่ได้ยินนั้นเกิดจากเชือกเสียดสีกับยางสน

เชือกเกิดการสั่นสะเทือนจากนั้นก็ส่งผ่านตัวกลางคือเชือกจากนั้นก็ส่งไปยังก้นแก้ว

ด้วยขนาดของแก้วมีพื้นที่ที่จำกัด ทำให้เสียงไปไหนไม่ได้ จึงเกิดเสียงดังออกมา

การเล่นที่หลากหลาย  อาจเปลี่ยนเชือก  เปลี่ยนแก้ว เป็นต้น



จากนั้นนำเสนอ งานกลุ่มที่ได้เขียนมายเเมบเอาไว้

ของเล่นที่นำเสนอคือการทำจรวด จากกระดาษ

ของเล่นตามมุม เป็นการทำแผนที่เเละใช้เเม่เหล็กในการทำ

การทดลอง เป็นการทดลองจรวด โดยมีแบ็ดกิ้งโซดาเป็นตัวหลักเเละกล่องใส่ฟิล์มกล้อง





2.skills (ทักษะ)

การใช้คำถามถามข้อสงสัยในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

การฝึกคิดหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับของเล่นที่เราหยิบมา

การปรับให้ของเล่นในวิทยาศาสตร์มีความยืดหยุ่นเเละเหมาะกับการเล่นได้หลากหลายรูปแบบ



3.Apply(การประยุกต์ใช้)

สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไป

สามารถนำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังโทรทัศน์ครูจากที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้

สามารถนำเอาหลักของมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาเป็นเเนวทางในการทำของเล่น

การทดลอง เเละการจัดมุมประสบการณ์ได้





4.technique  (เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน)

ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบ

รู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้

การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์






5. assessment (ประเมิน)

ตัวเอง      แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม


เพื่อน        แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา    
 เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดเเละพยายามช่วยกันรวบรวมคำพูดเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์



อาจารย์     เเต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา สอนให้ความรู้อย่างเต็มที่    
 ฝึกให้เราได้ใช้ความคิดเเละการหาคำตอบ     ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในห้องเรียน



ห้องเรียน    ห้องเรียนสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา

   เเต่มีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น